ภัยพิบัติทางธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลกทางธรรมชาติในโลก
การเปลี่ยนแปลงทางสภาวะแวดล้อมของโลก อาจเกิดขึ้นเนื่องจากปัจจัยธรรมชาติหรือจากการกระทำของมนุษย์ ได้ส่งผลให้เกิดปัญหาทางกายภาพหรือภัยพิบัติต่างๆ ทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคต่างๆของโลก อาทิ แผ่นดินไหว สึนามิ อุทกภัย ตลอดจนภัยพิบัติอื่นๆ ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งโดยตรงและโดยอ้อมต่อมวลมนุษย์ ลักษณะการเปลี่ยนแปลงมีตั้งแต่การเกิดขึ้นอย่างช้าๆไปจนถึงการเกิดอย่างฉับพลันและรุนแรง ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิต จึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับภัยพิบัติทางธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติในโลกต่างๆ เพื่อจะได้ปรับวิถึชีวิตให้สอดคล้องกับสภาวะในขณะนี้
3.1 ภัยพิบัติทางธรรมชาติ
ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะส่งผลให้เกิดอันตรายและเกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินต่างๆ ภัยพิบัติทางธรรมชาติเกิดขึ้นใน 3 ลักษณะ คือ ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นเนื่องจากสาเหตุภายในโลก เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นบนผิวโลก เช่น การเกิดแผ่นดินถล่ม อุทกภัย ภัยแล้ง ไฟป่า และภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในบรรยากาศ เช่น วาตภัย ภาวะโลกร้อน ลูกเห็บ ฟ้าผ่า เป็นต้น
1.1 แผ่นดินไหว
แผ่นดินไหว (Earthquake) เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่แผ่นดินมีการสั่นสะเทือน ซึ่งเกิดจากอิทธิพลของแรงบางอย่างที่อยู่ใต้พื้นโลก เมื่อเกิดแผ่นดินไหวคลื่นของแผ่นดินไหวจะกระจายไปสู่บริเวณส่วนต่างๆ ของโลก และถ้าการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวเป็นไปอย่างรุนแรง อุปกรณ์ตรวจจับคลื่นที่อยู่ห่างออกไปไกลนับหมื่นกิโลเมตรก็สามารถรับคลื่นแผ่นดินไหวได้
1) ปัจจัยที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหว แผ่นดินไหวเกิดจากการสั่นสะเทือนของแผ่นดินที่รู้สึกได้จุดใดจุดหนึ่นบนผิวโลก แผ่นดินไหวส่วนใหญ่เกิดจากการคลายตัวอย่างรวดเร็วของความเครียดภายในเปลือกโลกในรูปแบบของการเลื่อนตัวของแผ่นดินไหวได้เช่นกัน
2) สถานการณ์เกิดแผ่นดินไหว ในปัจจุบันได้เกิดปรากฎการณ์แผ่นดินไหวในภูมิภาคต่างๆ ของโลกบ่อยครั้งขึ้นและรุนแรงมากขึ้น โดยมีศูนย์กลางการเกิดตามพื้นที่เสี่ยงภัยต่างๆ โดยเฉพาะตามแนวรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกทั้งหลาย
ในประเทศไทยการเกิดปรากฎการณ์แผ่นดินไหวค่อนข้างน้อยและได้รับผลกระทบไม่รุนแรงมากนัก เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่ห่างไกลจากแนวแผ่นเปลือกโลกและแนวภูเขาไฟ แม้ประเทศไทยจะมีรอยต่อเลื่อนมีพลังในภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ แต่เป็นรอยเลื่อนขนาดเล็กส่วนใหญ่ศูนย์กลางแผ่นดินไหวจะอยู่บริเวณหมู่เกาะอันดามัน ประเทศอินเดีย ประเทศพม่า ทางตอนใต้ของประเทศจีน และตอนเหนือของประเทศลาว
3) ผลกระทบจากการเกิดแผ่นดินไหว เมื่อมีแผ่นดินไหวขนาดเล็กหรือปานกลางเกิดขึ้น (ขนาดปานกลาง 4-6 ริกเตอร์ ขนาดเล็ก 1-3 ริกเตอร์) จะเกิดรอยร้าวของอาคารและสิ่งของตกลงพื้นหรือแกว่ง แต่ถ้าขนาดของแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ คือ ตั้งแต่ 7 ริกเตอร์ขึ้นไปจะเกิดความรุนแรงมาก คือ อาคารที่ไม่แข็งแรงจะพังทรุดถล่ม มีผู้เสียชีวิตมาก กรณีที่เกิดแผ่นดินไหวในพื้นที่ที่เป็นเกาะ และมีขนาดตั้งแต่ 7.5 ริกเตอร์ขึ้นไป ส่งผลให้เกิดคลื่นสึนามินอกจากนี้การเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่อาจจะทำให้พื้นที่บริเวณเชิงเขาที่ลาดชันเกิดดินถล่มลงมาทับบ้านเรือนแถบเขาและอาจเกิดแผ่นดินแยกกัน
พื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวในประเทศไทย
กรมทรัพยากรธรณีได้จัดทำแผนที่แสดงบริเวณเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวในประเทศไทยและแสดงความเสี่ยงของโอกาศการเกิดแผ่นดินไหวที่จะเกิดความเสียหายตามมาตราอันดับขั้นรุนแรงของแผ่นดินไหว เรียกว่า”มาตราเมร์กัลป์ลี”(Mercalli scaie) ดังนี้
1. เขตความรุนแรงน้อย สภาพของแผ่นดินไหวจะสามารถตรวจจับความสั่นสะเทือนระดับ I-II เมร์กัลป์ลี โดยเครื่องตรวจรับความสั่นสะเทือน คนไม่สามารถรู้สึกได้ พบได้บริเวณพื้นที่ส่วนใหญ่ของถาคตะวันออกเฉีงเหนือและภาคตะวันออก
2. เขตความรุนแรงพอประมาณ สภาพของแผ่นดินไหวคนสามารถรู้สึกได้ และเครื่องตรวจจับความสั่นสะเทือนจะอยู่ในระดับ III-IV เมร์กัลป์ลี พบได้บริเวณภาคตะวันออกฉียงเหนือตอนบนภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยตั้งแต่นครศรีธรรมราชลงไป
3. เขตที่มีความรุนแรงน้อย-ปานกลาง สภาพของแผ่นดินไหวคนรู้สึกได้ ระดับความสั่นสะเทือน V-VI เมร์กัลป์ลี บ้านสั่นสะเทือน ต้นไม่สั่น สิ่งปลูกสร้างที่ออกแบบไม่ดีอาจพังได้ พบบริเวณภาคเหนือ ขอบภาคกลางด้านทิศตะวันตก กรุงเทพฯ และปริมณฑล ภาคตะวันตกตอนล่างและภาคใต้
4. เขตที่มีความรุนแรงปานกลาง สภาพของแผ่นดินไหวคนรู้สึกได้ สิ่งของในห้องตกหล่น ตึกร้าว ระดับความสั่นสะเทือน VII-VIII เมร์กัลป์ลี ทำให้สิ่งก่อสร้างเสียหาย บริเวณที่อาจเกิดขึ้นได้ ได้แก่ ภาคเหนือและภาคตะวันตกที่มีชายแดนติดต่อกับสหภาพพม่าจนถึงจังหวัดกาญจนบุรี
4) การระวังภัยจากแผ่นดินไหว การเกิดแผ่นดินไหวไม่สามารถทราบล่วงหน้าได้ แต่บริเวณใดที่เป็นจุดเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวจึงเป็นเพียงการลดความสูญเสียเท่านั้น
ข้อปฎิบัติในการป้องกันตนเองจากภัยแผ่นดินไหว มีดังนี้
1. บุคคลที่อยู่บริเวณจุดเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหว ควรจัดเตรียมเครื่องอุปโภคบริโภค ยารักษาโรคไว้ให้พร้อม
2. ขณะเกิดเหตุห้ามใช้ลิฟต์เพราะไฟฟ้าอาจดับได้ และควรมุดลงใต้โตะที่แข็งแรง เพื่อป้องกันสิ่งของร่วงหล่นทับ
3. หากอยู่ภาคนอกอาคารให้หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้เสาไฟฟ้า กำแพง และอาคารสูง หายอยู่ใกล้ชายฝั่งทะเลให้รีบขึ้นที่สูงที่ห่างจากชายฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นสึนามิได้
4. ควรออกแบบอาคารและสิ่งก่อสร้างให้สามารถรับแรงแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ได้
5. ควรมีการฝึกซ้อมการหลบภัยแผ่นดินไหวแต่ละชุมชนหรือหน่วงงานที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหว
1.2 ภูเขาไฟปะทุ
ภูเขาไฟ (Volcano) เป็นภูเขาไฟที่เกิดขึ้นจากการปะทุของหินหนืด แก๊ส และเถ้าธุลี ภูเขาไฟจากใต้เปลือกโลกแล้วปรากฎตัวเป็นสภาพภูมิประเทศ ภูเขาไฟมีทั้งที่ดับแล้วและที่ยังมีพลังอยู่ ภูเขาไฟที่ดับแล้วเป็นภูเขาไฟที่เกิดขึ้นนานมาก อาจเป็นหลายแสนล้านปี หินหนืดที่ไหลออกมาแข็งตัวกลายเป็นหินภูเขาไฟบนพื้นโลก ส่วนภูเขาไฟที่ยังมีพลังเป็นภูเขาไฟที่มีการปะทุ หรือดับชั่วคราว ซึ่งเป็นภูเขาไฟที่มอดแล้วนานนับพันปี อาจจะปะทุใหม่ได้อีก ปัจจุบันนี้ทั่วโลกมีภูเขาไฟที่มีพลังอยู่ประมาณ 1.300 ลูก และมีภูเขาไฟที่ดับแล้วจำนวนมากที่กลายเป็นภูเขาที่สำคัญ
1) ปัจจัยที่ทำให้เกิดการปะทุของภูเขาไฟ ดังนี้
1.1) การปะทุของแมกมา แก๊ส และเถ้าถ่านจากได้เปลือกโลก การปะทุมักมีสัณญาณบอกเหตุให้รู้ล่วงหน้า เช่น แผ่นดินไหวในบริเวณรอบๆ ภูเขาไฟเกิดการสั่นสะเทือน มีเสียงคล้ายฟ้าร้อง เสียงที่ดังนั้นเกิดจากการเคลื่อนไหวของแมกมา แก๊สต่างๆ และไอน้ำที่ถูกอัดไว้ เมื่อเกิดการปะทุ ลาวา เศษหิน ฝุ่นละออง เถ้าถ่านภูเขาไฟ จะถูกพ่นออกมาทางปล่องภูเขาไฟหรือออกมาทางช่องด้านข้างของภูเขาไฟ หรือตามรอยแตกแยกของภูเขาไฟ แมกมาเมื่อขึ้นสู่ผิวโลกจะเรียกวา “ลาวา” (Lava) ลาวาที่ออกสู่พื้นผิวโลกมีอุณหภูมิสูงถึง 1.200 ⁰C ไหลไปตามความลาดเอียงของพื้นที่
1.2) การปะทุของหินหนืดหรือแมกมา ภายในแมกมาจะมีแก๊สอยู่ เมื่อแมกมาเคลื่อนขึ้นมาใกล้ผิวโลกตามช่องเปิดแก๊สต่างๆ ที่ละลายอยู่จะแยกตัวออกเป็นฟองแก๊สจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น และขยายตัวอย่างรวดเร็ว ความหนืดของแมกมาตรงที่เกิดฟองจะเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย จนเกิดการแตกร้าวของฟองแก๊สพร้อมๆ กับการขยายตัวแล้วเกิดปะทุออกอย่างรุนแรง
2) สถานการณ์การเกิดภูเขาไฟปะทุ ในย่านภูเขาไฟของโลกยังมีปรากฏการณ์ภูเขาไฟปะทุอยู่ต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสิ่งที่ชี้ชัดว่าภายในเปลือกโลกยังมีมวลหินหนืดหลอมละลายอยู่อีกและพยายามหาทางระบายความร้อนดังกล่าว ตัวอย่างการปะทุของภูเขาไฟใน พ.ศ.2552-2553 ที่เกิดขึ้นในประเทศต่างๆ เช่น ภูเขาไฟมาโยนในประเทศฟิลิปปินส์ได้พ่นเศษเถ้าถ่านสู่ท้องฟ้า ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ได้มีการอพยพประชาชนออกนอกพื้นที่แต่ปรากฏว่าเขาไฟไม่ปะทุ เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2553 ภูเขาไฟเตอร์เรียลบาในประเทศคอสตาริกา ได้พ่นหมอกควันและปะทุลาวาร้อนทำให้เกิดไฟไหม้ป่าขึ้น ส่งผลให้ประขาขนจำนวนมากต้องอพยพออกจากพื้นที่เสี่ยงภัย และนับตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ภูเขาไฟเมราปี บนเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ได้ปะทุอย่างรุนแรงหลายครั้ง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 300 คน ต้องมีการอพยพประชาชนราว 90.000 คนออกพื้นที่เสี่ยงภัย และมีทรัพย์สินเสียหายจำนวนมาก
ภูเขาไฟกระจัดกระจายยอยู่ในทุกภูมิภาคของโลก บ้างก็เป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้วบ้างก็เป็นภูเขาไฟที่รอวันปะทุ จากข้อมูลทางด้านธรณีวิทยาระบุว่าโลกมีภูเขาไฟขนาดใหญ่ที่มีความสูงกว่า 4.500 เมตร อยู่ถึง 14 แห่ง ดังต่อไปนี้
ส่วนในประเทศไทยมีภูเขาไฟอยู่ในทุกภูมิภาค ลักษณะของภูเขาไฟในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นภูเขาไฟรูปโล่ (Shield Volcano) ซึ่งเป็นภูเขาไฟที่มีความลาดชันน้อยประมาณ 4-10 องศา ภูเขาไฟแบบนี้เกิดเนื่องจากการไหลลามของลาวาแบบบะซอลต์ซึ่งค่อนข้างเหลวและไหลง่าย จึงไหลแผ่ออกไปเป็นบริเวณกว้าง หากมีการปะทุขึ้นก็จะไม่รุนแรง
ภูเขาไฟในหลายภูมิภาคของไทยเป็นภูเขาไฟที่ดับแล้ว พบได้ในจังหวัด ดังต่อไปนี้
3) ผลกระทบที่เกิดจากการปะทุของภูเขาไฟ
1. ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือน มีทั้งการเกิดแผ่นดินไหววเตือน แผ่นดินไหวจริง และแผ่นดินไหวติดตาม ถ้าประชาชนไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในเชิงภูเขาไฟอาจหนีไม่ทันและอาจเกิดความสูญเสียแก่ชีวิตและทรัพย์สินได้
2. การเคลื่อนที่ของลาวา อาจไหลมาจากปากปล่องภูเขาไฟและเคลื่อนที่เร็วถึง 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มนุษย์และสัตว์อาจหนีภัยไม่ทันและเกิดความสูญเสียอย่างใหญ่หลวง
3. การเกิดฝุ่นภูเข้าไฟ เถ้า มูล ภูเขาไฟ ปะทุขึ้นสู่บรรยากาศครอบคลุมอาณาบริเวณใกล้ภูเขาไฟ และลมอาจพัดพาไปไกลจากแหล่งภูเขาไฟปะทุหลายพันกิโลเมตร ทำให้เกิดมลภาวะทางอากาศและทางน้ำ ในแหล่งน้ำกินน้ำใช้ของประชาชน เมื่อฝนตกหนักอาจจะเกิดน้ำท่วมและโคลนภล่มตามมาจากฝุ่นและเถ้าภูเขาไฟเหล่านั้น
4. เกิดคลื่นสึนามิ ขนาดเกิดการปะทุของภูเขาไฟ โดยเฉพาะภูเขาไฟใต้ท้องทะเล คลื่นนี้อาจโถมเข้าฝั่งสูงขนาดตึก 3 ชั้นขึ้นไป
4) การระวังภัยที่เกิดจากภูเขาไฟปะทุ สามารถทำได้ดังนี้
1. ต้องมีการพยากรณ์ว่าภูเขาไฟจะเกิดปะทุขึ้น และอาจเป็นอันตรายกับประชาชนหรือไม่ โดยการประชาสัมพันธ์ การพยากรณ์และเตือนภัยภูเขาไฟปะทุทางวิทยุโทรทัศน์ให้ประชาชนรับรู้อย่างทั่วถึง ให้ชัดเจนจะเกิดขึ้นเมื่อไร จะต้องมีการอพยพหรือไม่ เพราะอาจมีบางคนไม่อยากอพยพจนกว่าจะมีการปะทุ และผู้คนจะกลับมาอยู่บ้านของตนได้เร็วที่สุดเมื่อใด
2. การพยากรณ์ควรเริ่มต้นด้วยการสังเกต เก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยนักภูเขาไฟวิทยาที่มีประสบการณ์อย่าจริงจัง เพราะภูเขาไฟไม่ปะทุบ่อยนัก ประชาชน 2-3 พันล้านคนของโลกอาจไม่รู้ว่าได้ตั้งถิ่นฐานอยู่บนเชิงภูเขาไฟที่ดับหรือไม่ดับก็ตาม ดังนั้นการเตือนภัยล่วงหน้าจะช่วยลดจำนวนคนที่ตกเป็นเหยื่อของภูเขาไฟก็ได้ ดังนั้น จึงควรให้ความรู้ว่าภูเขาไฟอยู่ที่ไหน จะปะทุเมื่อไร จะคุ้มครองชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างไรเมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้น
3. การให้ความรู้แก่ประชาชน ทำได้ตลอดเวลาทั้งก่อน ระหว่าง และหลังประสบภัยพิบัติ เมื่อประชาชนรู้เรื่องภัยพิบัติจากการปะทุของภูเขาไฟ นับว่าการเตือนภัยจากภูเขาไฟปะทุมีความสำเร็จไปครึ่งทางแล้ว ดีกว่าให้ประชาชนตกอยู่ในความมืดเมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้น
1.3 สึนามิ
สึนามิ (Taunami) เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างหนึ่ง ในภาษาญี่ปุ่นแปลว่า “คลื่นอ่าวจอดเรือ” (Haebour Waver) ซึ่ง สึ คำแรก แปลว่า ท่าเรือ ( Harbour) ส่วนคำที่สอง นามิ แปลว่า คลื่น (Wave) ในบางครั้งก็อาจเรียกว่า “Seismic Wave” ปัจจุบันใช้คำเรียกกลุ่มคลื่นที่มีความยาวคลื่นมากๆ ขนาดหลายร้อยกิโลเมตร นับจากยอดคลื่นที่ไล่ตามกันไป
1) ปัจจัยที่ทำให้เกิดสึนามิ สึนามิเป็นคลื่นทะเลขนาดใหญ่ที่เคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วและมีพลังมาก เกิดจากมวลน้ำในทะเลและมหาสมุทรได้รับแรงสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง จนกลายเป็นคลื่นกระจายตัวออกไปจากศูนย์กลางของการสั่นสะเทือนนั้น ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นเมื่อมีแผ่นดินไหวรุนแรงใต้ท้องทะเลย แต่ก็อาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆได้ เช่น การปะทุของภูเขาไฟบนเกาะหรือใต้ทะเล การพุ่งชนของอุกกาบาตขนาดใหญ่ลงบนพื้นน้ำในมหาสมุทร การทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใต้ทะเล เป็นต้น
2) สถานการณ์การเกิดสึนามิ บริเวณที่มักเกิดคลื่นสึนามิ คือ ในมหาสมุทรแปซิฟิก โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นมักได้รับภัยจากสึนามิบ่อยครั้งส่วนในทะเลอันดามันของมหาสมุทรอินเดียไม่เคยเกิดสึนามิที่รุนแรงมาก่อน จนเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ได้เกิดสึนามิที่รุนแรงมาก มีจุดกำเนิดอยู่ในทะเลทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ในประเทศอินโดนีเซีย แล้วแผ่ขยายไปในทะเลอันดามันจนไปถึงฝั่งตะวันออกของทวีปแอฟริกา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 200.00 คน ใน 11 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย พม่า อินเดีย บังกลาเทศ ศรีลังกา มัลดีฟส์ โซมาเลีย แทนซาเนีย และเคนยา ในประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตประมาณ 5,400 คนใน 6 จังหวัด
3) ผลกระทบที่เกิดจากสึนามิ ผลของคลื่นสึนามิที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม มีดังนี้
1. ทำให้แผ่นเปลือกโลกขยับ ค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์คลาดเคลื่อนไป
2. ส่งผลให้สภาพพื้นที่ชายฝั่งทะเลเปลี่ยนแปลงไปในช่วงเวลาอันสั้น
3. ทำให้สูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินต่างๆ เช่น บ้านเรือนเสียหาย ระบบสาธารณูปโภคถูกทำลาย เป็นต้น
4. ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ เช่น สัตว์น้ำบางประเภทเปลี่ยนที่อยู่อาศัย เป็นต้น
5. กระทบต่อการประกอบอาชีพของประชาชน เช่น การทำประมง การค้าขายบริเวณชายหาด เป็นต้น
6. ส่งผลกระทบต่อธุระกิจการท่องเที่ยว ทำให้นักท่องเที่ยวลดลง
4) การระวังภัยจากสึนามิ วิธีสังเกตและป้องกันตนจากคลื่นสึนามิ มีดังนี้
1. เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขณะที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดติดชายฝั่งทะเลย ต้องระลึกเสมอว่าอาจเกิดคลื่นสึนามิตามมา เพื่อจะได้เตรียมตัวให้พร้อมทุกเมื่อ
2. สังเกตปรากฏการณ์ของชายฝั่ง เช่น มีการลดระดับน้ำทะเล ให้รีบอพยพครอบครัวและสัตว์เลี้ยงขึ้นที่สูง เป็นต้น
3. ถ้าอยู่ในเรือจอดใกล้กับชายฝั่งให้รีบนำเรือออกไปกลางทะเล
4. หลีกเลี่ยงการก่อสร้างใกล้ชายฝั่งในบริเวณที่มีความเสี่ยงสูง หากจำเป็นต้องมีการก่อสร้าง ควรมีโครงสร้างแข็งแรงต้านแรงสึนามิได้
1.4 อุทกภัย
อุทกภัย (Flood) คือ ภัยที่เกิดจากน้ำท่วม ซึ่งเป็นน้ำที่ท่วมพื้นที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งเป็นครั้งคราว เนื่องจากมีฝนตกหนักหรือหิมะละลาย ทำให้น้ำในลำน้ำหรือทะเลสาบไหลล้นตลิ่งหรือป่าลงมาจากที่สูง ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
1) ปัจจัยที่ทำให้เกิดอุทกภัย ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดอุทกภัย มีดังนี้
1.1 ฝนตกหนักและต่อเนื่องยาวนาน เนื่องจากเกิดลมพายุ ลมมรสุมมีกำลังแรงหรือหย่อมความกดอากาศต่ำมีกำลังแรง ส่งผลให้ไม่สามารถระบายน้ำออกจากพื้นที่ได้ทัน
1.2 พื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม บริเวณพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำมักจะประสบปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี หากมีฝนตกหนักต่อเนื่อง เนื่องจากเป็นพื้นที่ต่ำจึงไม่สามารถระบายน้ำออกไปได้
1.3 น้ำทะเลหนุน ถ้าหากมีน้ำทะเล ขึ้นสูงหนุนน้ำเข้าสู่ปากแม่น้ำจะทำให้น้ำเอ่อไหลล้นฝั่ง ทำให้เกิดน้ำท่วมบริเวณสองฝั่งแม่น้ำ
1.4 พื้นที่รองรับน้ำตื้นเขิน นับเป็นมูลเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดน้ำท่วม เพราะปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาแต่ละปีมีปริมาณไม่แตกต่างกัน แต่ตะกอนในท้องน้ำของแม่น้ำลำคลองและบึงมีมาก เมื่อถึงช่วงฤดูฝนที่มีปริมาณน้ำมากจึงไม่มีแหล่งกักเก็บจึงเอ่อท่วมพื้นที่ต่างๆ
1.5 สิ่งกีดขวางทิศทางการไหลของน้ำ ในอดีตน้ำฝนที่ตกลงสู่พื้นดินจะไหลโดยอิสระลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันได้มีสิ่งกีดขวางเส้นทางการไหลของน้ำทั้งในลำน้ำ เช่น ตะกอน สิ่งก่อสร้างริมลำน้ำ กระชังปลา ส่วนบริเวณบนพื้นดินมีการสร้างถนน อาคาร บ้านเรือน และพื้นที่เกษตรกรรมขวางทิศทางการไหลของน้ำ น้ำจึงไมสามารถไหลและระบายได้ จึงเกิดน้ำท่วมขึ้นตามพื้นที่ต่างๆ
ลักษณะภูมิประเทศที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัย มีดังนี้
1. บริเวณที่ราบ เนินเขา จะเกิดอุทกภัยแบบฉับพลัน น้ำไหลบ่าอย่างรวดเร็วและมีพลังทำลายสูง ลักษณะแบบนี้ เรียกว่า “น้ำป่า” เกิดขึ้นเพราะมีน้ำหลากจากภูเขา อันเนื่องจากมีฝนตกหนักบริเวณต้นน้ำ จึงทำให้เกิดน้ำหลากท่วมฉับพลัน
2. พื้นที่ราบลุ่มริมแม่น้ำและชายฝั่ง เป็นภัยพิบัติที่เกิดขึ้นช้าๆ จากน้ำล้นตลิ่ง เมื่อเกิดจะกินพื้นที่บริเวณกว้าง น้ำท่วมเป็นระยะเวลานาน
3. บริเวณปากแม่น้ำ เป็นอุทกภัยที่เกิดจากน้ำที่ไหลจากที่สูงกว่าและอาจจะมีน้ำทะเลหนุน ประกอบกับแผ่นดินทรุดจึงทำให้เกิดน้ำท่วมขังในที่สุด
2) สถานการณืการเกิดอุทกภัย ปัจจุบันน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในภูมิภาคต่างๆ ของโลกและที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมักเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน และเกิดรุนแรงขึ้น เนื่องจากมีฝนตกหนังต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ตัวอย่างเช่น น้ำท่วมครั้งใหญ่ในสหรัฐอเมริกา เมื่อปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 ทำให้ประชาชนหลายพันคนในรัฐนอร์ทตาโคตาและมินนิโซตต้องอพยพออกจากบ้านเรือน และการเกิดน้ำท่วมฉับพลันในประเทศฟิลิปปินส์ ในช่วงเดือนกันยายน พ.ศ. 2552 นับเป็นภาวะน้ำท่วมครั้งรุนแรงที่สุดในกรุงมะนิลาในช่วงเวลา 42 ปี เนื่องจากอิทธิผลของพายุโซนร้อนกิสนา ทำให้มีผู้เสีชีวิตหลายร้อยคนและคนไร้ที่อยู่อาศัยจำนวนมาก เป็นต้น
ส่วนอุทกภัยในประเทศไทยมักเกิดในลักษณะน้ำท่วมฉับพลัน หรือน้ำป่า ทั้งนี้เนื่องจากมีการทำลายป่าไม้ เมื่อฝนตกน้ำจึงไหลช้าลงและเกิดน้ำท่วม เมื่อปริมาณน้ำมากขึ้นจะมีกำลังทำลายร้างสูง เช่น เมื่อวันที่ 11 สิงหาคา พ.ศ. 2544 มีพายุโซนร้อนเกิดขึ้นทำให้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องในตำบลน้ำก้อ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ทำให้ดินถล่มบนเขาและมีน้ำป่าไหลเข้าท่วมบ้านเรือน มีท่อนไม้และซากไม้ไหลลงมากับกระแสน้ำเกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน มีผู้เสียชีวิต 125 คน นอกจากนี้ สถานการณ์น้ำท่วมก็ยังเกิดขึ้นทุกปีในพื้นที่ราบน้ำท่วมถึงของแม่น้ำชี แม่น้ำมูล แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำต่างๆ
3) ผลกระทบที่เกิดจากอุทกภัย สามารถแบ่งอันตราย และความเสียหายที่เกิดจากอุทกภัย ได้ดังนี้
1. น้ำท่วมอาคารบ้านเรือน สิ่งก่อสร้างและสาธารณสถาน ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างมาก บ้านเรือนหรืออาคารสิ่งก่อสร้างที่ไม่แข็งแรงจะถูกกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวพังทลายได้ คน สัตว์พาหนะ และสัตว์อาจได้รับอันตรายถึงชีวิตจากการจมน้ำตาย
2. เส้นทางคมนาคมและการขนส่ง อาจจะถูกตัดเป็นช่วงๆ โดยความแรงของกระแสน้ำ ถนนสะพานอาจจะถูกกระแสน้ำพัดให้พังทลายได้ สินค้าพัสดุที่อยู่ระหว่างการขนส่งจะได้รับความเสียหายมาก
3. ระบบสาธารณูปโภค จะได้รับความเสียหาย เช่น โทรศัพท์ ไฟฟ้า เป็นต้น
4. พื้นที่การเกษตรและการปศุสัตว์จะได้รับความเสียหาย เช่น พืชผล ไร่นา ที่กำลังผลิดอกออกผลบนพื้นที่ต่ำ อาจถูกน้ำท่วมตายได้ สัตว์พาหนะ สัตว์เลี้ยง ตลอดจนผลผลิตที่เก็บกักตุน หรือมีไว้เพื่อทำพันธุ์จะได้รับความเสียหาย ความเสียหายทางอ้อม จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยทั่วไป เกิดโรคระบาด สุขภาพจิตเสื่อม และสูญเสียความปลอดภัย เป็นต้น
4) วิธีปฏิบัติในการป้องกันตนเองจากอุทกภัย มีดังนี้
1. การวางแผนการใช้ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ ควรกำหนดผังเมืองเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของตัวเมือง ไม่ให้กีดขวางทางไหลของน้ำ กำหนดการใช้ที่ดินบริเวณพื้นที่น้ำท่วมให้เป็นพื้นที่ราบลุ่มรับน้ำ เพื่อเป็นการหน่วงหรือชะลอการเกิดน้ำท่วม
2. ไม่บุกรุกทำลายป่าไม้ และไม่ปลูกพืชไร่บนพื้นที่ภูเขาสูงชัน เพราะจะขาดพื้นที่ดูดซับและชะลอการไหลของน้ำ ทำให้น้ำไหลลงสู่แม่น้ำ ลำห้วยได้อย่างรวดเร็ว
3. การเคลื่อนย้ายวัสดุจากที่ที่จะได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากน้ำท่วมให้ไปอยู่ในที่ปลอดภัยหรือที่สูง
4. การนำถุงทรายมาทำเขื่อน เพื่อป้องกันน้ำท่วม
5. การพยากรณ์และการเตือนภัยน้ำท่วมให้ประชาชนรับทราบล่วงหน้า เพื่อเตรียมป้องกัน
6. การสร้างเขื่อน ฝาย ทำนบ และถนน เพื่อเป็นการกักเก็บน้ำหรือเป็นการกั้นทางเดินของน้ำ เป็นต้น
ข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดอุทกภัย มีดังนี้
1. ตัดสะพานไฟ และปิดแก๊สหุงต้มให้เรียบร้อย
2. อยู่ในอาคารที่แข็งแรงและอยู่ที่สูงพ้นจากน้ำที่เคยท่วม
3. ทำร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ
4. ไม่ควรขับขี่ยานพาหนะฝ่าลงไปในกระแสน้ำหลาก
5. ไม่ควรเล่นน้ำหรือว่ายน้ำเล่นในขณะน้ำท่วม
6. ระวังสัตว์ที่มีพิษที่หนีน้ำท่วมขึ้นมาอยู่บนบ้าน และหลังคา กัดต่อย เช่น งู ตะขาบ
7. ติดตามเหตุการณ์อย่างใกล้ชิด เช่น สังเกตดินฟ้าอากาศ หรือติดตามคำเตือนที่เกี่ยวกับลักษณะอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา
8. เตรียมพร้อมที่จะอพยพไปในที่ปลอดภัยของชีวิตมากกว่าห่วงทรัพย์สิน
ข้อควรปฏิบัติหลังเกิดอุทกภัย มีดังต่อไปนี้
1. ขนส่งคนอพยพกลับภูมิลำเนา
2. ช่วยเหลือในการรื้อสิ่งปรักหักพัง ซ่อมแซมบ้านเรือน อาคาร ต่างๆ
3. ทำความสะอาดบ้านเรือน ถนนหนทางที่เต็มไปด้วยโคลน
4. ซ่อมแซมสาธารณูปโภค ให้กลับคืนสู่สภาพปกติโดยเร็วที่สุด
5. ซ่อมแซมถนน สะพาน และรางรถไฟ ให้กลับสู่สภาพเดิมให้เร็วที่สุด
6. การสงเคราะห์ผู้ประสบภัย จากหน่วงบรรเทาทุกข์ต่างๆ
7. การจัดการด้านสาธารณสุข เพื่อป้องกันโรคต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง
8. ช่วยเหลือสัตว์ต่างๆ ที่มีชีวิตอยู่
1.4 แผ่นดินถล่ม
แผ่นดินถล่ม (Landslides) คือ การเคลื่อนที่ของแผ่นดิน และกระบวนการซึ่งเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของดินหรือหิน ตามบริเวณพื้นที่ลาดชันที่เป็นภูเขาหรือเนินเขา
1) ปัจจัยที่ทำให้เกิดแผ่นดินถล่ม แผ่นดินถล่มเกิดขึ้นเนื่องจากแรงดึงดูดของโลกอาจเลื่อนหลุดออกมาเป็นกระบิหรือพังทลายลงมาก็ได้ สิ่งที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดแผ่นดินถล่มมีทั้งที่เป็นธรรมชาติและที่มนุษย์กระทำขึ้น
1.1 ปัจจัยจากธรรมชาติ มีดังนี้
1. การเกิดแผ่นดินไหวที่รุนแรงมากจะส่งผลให้เกิดแผ่นดินบริเวณลาดเขาที่มีความชันเกิดการเคลื่อนที่ลงมาตามแรงดึงดูดของโลก
2. การเกิดฝนตกหนัก ฝนที่ตกหนักต่อเนื่องกันหลายๆวัน น้ำฝนจะซึมไปสะสมอยู่ในเนื้อดิน เมื่อดินไม่สามารถอุ้มน้ำไว้ได้จะลื่นไถลลงตามความลาดชันและมักมีต้นไม้และเศษหินขนาดต่างๆ เลื่อนไหลตามไปด้วย
นอกจากนี้แผ่นดินถล่มอาจเกิดจากปัจจัยอื่นๆ เช่น ภูเขาไฟปะทุ หิมะตกมากหรือหิมะละลาย คลื่นสึนามิ การเปลี่ยนแปลงของน้ำใต้ดิน การกัดเซาะของฝั่งแม่น้ำ ไหล่ทวีป เป็นต้น
1.2 ปัจจัยจากมนุษย์ มีดังนี้
1. การขุดตนบริเวณไหล่เขา ลาดเขาหรือเชิงเขา เพื่อทำการเกษตร การทำถนน การขยายที่ราบในการพัฒนาที่ดิน เป็นต้น
2. การดูดทรายจากแม่น้ำ หรือบนแผ่นดิน
3. การขุดดินลึกๆ ในการก่อสร้างห้องใต้ดินของอาคาร
4. การบดอัดดินเพื่อการก่อสร้างทำให้เกิดการเคลื่อนของดินในบริเวณใกล้เคียง
5. การสูบน้ำใต้ดิน น้ำบาดาลที่มากเกินไป
6. การทำลายป่าเพื่อทำไร่ ทำสวน เป็นต้น
2. สถานการณ์การเกิดแผ่นดินถล่ม การเกิดแผ่นดินถล่มในต่างประเทศและในประเทศไทยมีลักษณะคล้ายกัน คือ มักเกิดในพื้นที่ภูเขาที่มีความลาดชัน มีการปรับพื้นที่ป่าตั้งเดิมเป็นพื้นที่เกษตรกรรม สร้างบ้านพักอาศัย สร้างรีสอร์ตบริการนักท่องเที่ยว และเมื่อมีฝนตกชุกต่อเนื่องยาวนานมากกว่า 24 ชั่วโมง มักจะเกิดแผ่นดินถล่มเอาดินโคลน เศษหิน ซากไม้ลงมาพร้อมกับสายน้ำ สร้างความเสียหายทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินทุกครั้ง และการเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวนี้มักเกิดถี่ขึ้น และรุนแรงมากขึ้นทุกๆครั้งด้วย ตัวอย่างเช่น ประเทศยูกันทวีปแอฟริกาได้เกิดดินถล่มในหมู่บ้านแถบเทือกเขาทางภาคตะวันออกของประเทศ เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553 เนื่องจากมีฝนตกหนักในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง จึงส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 100 คน และผู้สูญหายอีกกว่า 300 คน และที่ประเทศจีนใต้เกิดแผ่นดินถล่มบ่อยครั้ง เช่น เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ได้เกิดฝนตกหนักในเขตมณฑลยูนนานและมณฑลเสฉวน ส่งผลให้เกิดดินถล่มมีผู้เสียชีวิต 148 คน และบ้านเรือนเสียหายอย่างมาก
ตัวอย่างแผ่นดินถล่มในประเทศไทย เช่น เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ.2549 ที่อำเภอลับแล อำเภอท่าปลา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
1.5 การกัดเซาะชายฝั่ง
การกัดเซาะชายฝั่ง (Coastal Erosion) คือการที่ชายฝั่งทะเลถูกกัดเซาะจากการกระทำของคลื่นและลอมในทะเลทำให้ชายฝั่งร่นถ่อยแนวเข้าไปในแผ่นดิน ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการดำรงชีวิตของมนุษย์
- ปัจจัยที่ทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งทะเล มีดังต่อไปนี้
- ธรณีพิบัติภัยที่เกิดในบริเวณชายฝั่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเด่นชัด เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟปะทุ แผ่นดินถล่ม เป็นต้น
- การเปลี่ยนแปลงของอากาศ เป็ฯปัจัยหนึ่งที่ทำให้โลกมีสภาพแวดล้อมต่างๆ กัน อุณหภูมิอากาศโลกที่สูงขึ้น อากาศที่ร้อนขึ้นจะทำให้ลักษณะของลม คลื่นรุนแรงระดับน้ำขึ้นน้ำลงเปลี่ยนแปลง เกิดพายุรุนแรงและถี่กว่าเดิม
- ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นส่วนหนึ่งเกิดจากอากาศมีอุณหภูมิสูงขึ้น ทำให้น้ำทะเลขยายตัว และยังทำให้ธารน้ำแข็งในบริเวณขั้วโลกและบนภูเขสูงละลายไหลลงสู่มหาสมุทร
- ลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาของท้องทะเลที่มีการเคลื่อนที่ตามแผ่นเปลือกทะเลทำให้เกิดการทรุดตัวของพื้นที่ นอกจากนี้การทรุดตัวของพื้นที่ชายฝั่งอาจเกิดจากการกดทับหรืออัดตัวของตะกอนในพื้นที่หรืออาจเกิดจากการสูบ ขุด หรือดูดทั้งของแข็งและของเหลวออกจากพื้นที่ เช่น การสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ในปริมาณมาก ทำให้เกิดการทรุดตัวของพื้นที่ เป็นต้น
- ปริมาณตะกอนไหลลงสู่ทะเลลดน้อยลง จากการที่มีสิ่งก่อสร้างปิดกั้นการไหลของน้ำตามธรรมชาติ ทำให้ปริมาณตะกอนตามแนวชายฝั่งลดลง การกัดเซาะจึงเกิดขึ้นง่าย
- กิจกรรมของมนุษย์บนชายฝั่งที่พัฒนาขึ้นมาโดยไม่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมชายฝั่ง เช่น การสร้างตึกสูงตามแนวชายหาดทรายด้านนอกที่ติดทะเล การถมทะเลเพื่อการพัฒนาที่ดิน การเปลี่ยนสภาพป่าชายเลนที่เป็นปราการธรรมชาติไปทำประโยชน์อย่างอื่น การสร้างสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ที่กีดขวางการเคลื่อนที่ตามธรรมชาติของคลื่นและกระแสน้ำ เป็นต้น
2) สถานการณ์ชายฝั่งถูกกัดเซาะ จากการวัดระดับน้ำทะเล โดยสถานีวัดน้ำ ทะเลทวีปต่างๆ ทั่วโลกพบว่า มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 12-15 เซนติเมตร บางแห่งที่มีระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นจะเกิดการทรุดตัวของแผ่นดิน ตัวอย่างเช่น ประเทศสหรัฐอเมริกาได้สูญเสีย พื้นที่เกาะเวลสเกต (Whale Skate) ในบริเวณหมู่เกาะฮาวาย จากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลหรือประชากรของประเทศตูวาลูที่กำลังเดือดร้อนต้องหาที่อยู่ใหม่ เนื่องแผ่นดินจะจมไปเช่นกัน ทั้งนี้มีการคาดการณ์ว่า หากระดับน้ำทะเลสูงขึ้นอีก 1 เมตร พื้นที่ชายฝั่งของประเทศอุรกวัยจะหายไปร้อยละ 0.05 ประเทศอียิปต์ร้อยละ 1 ประเทศเนเธอร์แลนด์ ร้อยละ 6 ประเทศบังกลาเทศร้อยละ 17.5 และหมู่เกาะมาร์แชลล์อาจสูญเสียพื้นที่ถึงร้อยละ 80 การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้มีการประเมินว่าในช่วง 30 ปีข้างหน้า จะมีการทรุดตัวของแผ่นดินชายฝั่งถูกกัดเซาะและความแปรปรวนของภูมิอากาศโลกจะเพิ่มระดับความรุนแรงขึ้นถึง 20% และจะส่งผลให้เกิดภัยพิบัติทั้งจากน้ำท่วม ดินถล่ม ดินทรุด ความแห้งแล้ง ความปรวนแปรของอากาศ และภัยพิบัติอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย
สำหรับชายฝั่งทะเลของประเทศไทยมีความยาวประมาณ2,600 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งอ่าวไทยและอันดามันรวม 23จังหวัด โดยฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยมีความยาวประมาณ 1,650 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 17 จังหวัด ได้แก่ ตราด จันทบุรี ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส ส่วนชายฝั่งทะเลอันดามันมีความยาวประมาณ 950 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งทะเลของ 6 จังหวัด ได้แก่ ระนอง พังงา กระบี่ ตรัง และสตูล
พื้นที่ชายฝั่งทะเลประเทศไทย 23 จังหวัดประสบปัญหาถูกกัดเซาะชายฝั่งในอัตราความรุนแรงแตกต่างกัน พื้นที่ที่ประสบปัญหาถูกกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรงที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ และสังคม เช่น พื้นที่ชายบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ชายฝั่งเพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์ ชายฝั่งชลบุรี ระยอง ตราด นครศรีธรรมราช สงขลา เป็นต้น กรมทรัพยากรธรณีได้รับหมอบหมายจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมให้เป็นเจ้าภาพในการดำเนินการแก้ไขปัญหา การกัดเซาะชายฝั่งและตลิ่งลำน้ำ ได้รวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นถึงสภาพปัญหาของพื้นที่วิกฤตการกัดเซาะชายฝั่งทะเลพบว่า ชายฝั่งทะเลบางขุนเทียนถูกกัดเซาะตลอดระยะทาง 5 กิโลเมตร ชายฝั่งอำเภอชะอำ
จังหวัดเพชรบุรี และชายฝั่งอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ถูกกัดเซาะอย่างรุนแรงเป็นระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร และมีชายหาดบริเวณพื้นที่ที่มีความสำคัญ เช่น หาดหัวหิน บริเวณพระราชนิเวศมฤคทายวัน พระราชวังไกลกังวล ถูกกัดเซาะในระดับปานกลางเป็นระยะทางประมาณ 40กิโลเมตร ชายฝั่งปัตตานี –นราธิวาส ถูกกัดเซาะอย่างรุนแรงเป็นระยะทางประมาณ 35 กิโลเมตร และชายฝั่งจังหวัดตราดพบการถูกกัดเซาะอย่างรุนแรงเป็นระยะทางประมาณ 8กิโลเมตร โดยมีสาเหตุของการกัดเซาะและสภาพแตกต่างกัน จำเป็นต้องดำเนินการสถานภาพ และวางแนวทางแก้ไขปัญหาเป็นการเฉพาะในแต่ละเพื่อนที่ ซึ่งต้องดำเนินการศึกษาสภาพปัญหาสาเหตุ และปัจจัยทางธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและสมุทรศาสตร์ เพื่อวางแนวทางการป้องกัน การแก้ไขปัญหาให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่วิกฤตแต่ละแห่ง
3) ผลกระทบที่เกิดการชายฝั่งถูกกัดเซาะ การกัดเซาะชายฝั่งที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ชายฝั่งของภูมิภาคต่างๆ และชายฝั่งของประเทศไทยส่งผลกระทบในด้านต่างๆ ดังนี้
1.ระบบนิเวศชายฝั่ง ทำให้ระบบนิเวศชายฝั่ง เช่น แนวปะการัง ป่าไม้ชายเลน หญ้าทะเล และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ถูกทำลาย ส่งผลให้สภาพแวดล้อมชายฝั่งเสื่อมโทรมลง
2. สภาพเศรษฐกิจ เมื่อพื้นที่ชายทั้งทะเลไม่มีความอุดมสมบรูณ์ ไม่มีความสวยงามตามธรรมชาติ ส่งผลให้นักท่องเที่ยวลดน้อยลง กระทบอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นรายได้สำคัญของประเทศ และกระทบต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ส่งผลให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจจำนวนมาก
3.การดำรงชีวิตของประชนการกัดเซาะชายฝั่งทำให้สิ่งปลูกสร้างเสียหาย สูญเสียที่ดินและทรัพย์สิน ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและวิถีชีวิตของคนในชุมชนเปลี่ยนแปลงไป หลายชุมชนต้องอพยพออกจากพื้นที่
4. การแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งมีความสลับซับซ้อน เนื่องจากมีเหตุผลปัจจัยประกอบกันหลายด้านจึงเป็นเรื่องยากที่จะหาสาเหตุที่แท้จริง และแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด ดังนั้น การดำเนินการในการแก้ไขช่วงเวลาที่ผ่านมา จึงไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร แต่อย่างไรก็ตาม หน่วยงานต่างๆ ได้พยายามจะบรรเทาปัญหา และลดผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่งด้วยวิธีการต่างๆ ซึ่งการแก้ไขปัญหาในปัจจุบันมีวิธีการแก้ไข 2 วิธี ดังนี้
4.1) วิธีการทางธรรมชาติ ได้แก่ การพื้นฟูและอนุรักษาป่าชายเลน ป่าชายหาด แหล่งหญ้าทะเล และแนวปะการัง โดยเฉพาะการอนุรักษ์ป่าชายเลน ซึ่งนอกจากจะเป็นประการสำคัญในการช่วยลดความรุนแรงของคลื่นลม ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งของการเกิดการกัดเซาะชายฝั่งแล้ว ป่าชายเลนยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย หลบภัย แพร่พันธุ์ของสัตว์ทะเลซึ่งถือว่าเป็นแหล่งอาหารของผู้คนในท้องถิ่นอีกด้วย
4.2) วิธีการทางวิศวกรรม การแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง โดยวิธีการทางวิศวกรรมนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อดักตะกอนชายหาด สลายพลังงานคลื่น และพยายามรักษาสภาพชายหาดให้เกิดความสมดุล โดยวิธีการทางวิศวกรรมที่ใช้แก้ไข เช่น การสร้างเขื่อนกันคลื่นสร้างแนวกันคลื่นนอกชายฝั่ง สร้างกำแพงกันตลิ่ง สร้างปะการังเทียม เป็นต้น
1.6 วาตภัย (Storms) เป็นภัยธรรมชาติซึ่งเกิดจากพายุลมแรง สามารถแบ่งลักษณะของวาตภัยได้ตามความเร็วลม สถานที่ที่เกิด เช่น พายุฝนฟ้าคะนอง พายุดีเปรชัน พายุโซนร้อน พายุไต้ฝุ่น เป็นต้น ทำให้เกิดความเสียหายให้แก่ชีวิตของมนุษย์ อาคารบ้านเรือน ต้นไม้ และสิ่งก่อสร้างต่างๆ
1)ปัจจัยที่ทำให้เกิดวาตภัย มีสาเหตุมาจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ ดังนี้
1.1)พายุหมุนเขตร้อน เป็นพายุหมุนที่เกิดเหนือทะเลหรือมหาสมุทรในเขตร้อน ได้แก่ พายุดีเปรชัน พายุโซนร้อน พายุไต้ฝุ่น พายุหมุนเขตร้อนมีชื่อเรียกต่างกันไปตามแหล่งกำเนิด เช่น พายุที่เกิดในอ่าว เบงกอลและมหาสมุทรอินเดียเรียกว่า “ไซโคลน” (Cyclone) พายุที่เกิดในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือทะเลแคริบเบียน อ่าวเม็กซิโก และทางด้านตะวันตกของเม็กซิโกเรียกว่า “เฮอลิแคน” (Hurricane) พายุที่เกิดในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือทางด้านฝั่งตะวันตกมหาสมุทรแปซิฟิกไต้ และทะเลจีนไต้ เรียกว่า “ไต้ฝุ่น” (Typhoon) พายุที่เกิดแถบทวีปออสเตรเลีย เรียกว่า “วิลลี-วิลลี” (willy-willy) หรือเรียกชื่อตามบริเวณที่เกิด
1.2) ลมงวง หรือพายุทอร์นาโด เป็นพายุหมุนรุนแรงขนาดเล็กที่เกิดจากการหมุนเวียนของลมภายใต้เมฆก่อตัวในแนวดิ่งหรือเมฆพายุฝนฟ้าคะนอน (เมฆคิวมูโลนิมบัส)ที่มีฐานเมฆต่ำ กระแสลมวนที่มีความเร็วลมสูงนี้ จะทำให้กระแสอากาศเป็นลมพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้า หรือย้อยลงมาจากฐานเมฆดูคล้ายกับงวงหรือปล่องยื่นลงมา ถ้าถึงพื้นดินก็จะทำความเสียหายแก่ บ้านเรือน ต้นไม้ และสิ่งปลูกสร้างได้
1.3)พายุฤดูร้อน เป็นพายุที่เกิดในฤดูร้อน ในประเทศไทยส่วนมากเกิดระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน โดยจะเกิดบ่อยครั้งในภาคเหนือและภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนกลางและภาคตะวันออก การเกิดน้อยครั้งกว่า สำหรับภาคใต้ก็สามารถเกิดได้แต่ไม่บ่อยนัก โดยพายุฤดูร้อนจะเกิดในช่วงที่มีลักษณะอากาศร้อนอบอ้าวติดต่อกันหลายวันแล้วมีกระแสอากาศเย็นจากความกดอากาศสูงในประเทศจีนพัดมาประทะกัน ทำให้เกิดฝนฟ้าคะนอง มีพายุลมแรง และอาจมีลูกเห็บตกได้โดยจะทำความเสียหายในบริเวณกว้างนักประมาณ 20-30 ตารางกิโลเมตร
2)สถานการณ์การเกิดวาตภัย วาตถัยครั้งร้ายแรงที่เกิดในประเทศต่างๆ เช่น
พายุไซโคลนนาร์กีส เกิดเมื่อวันที่2 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงระดับสูง พัดผ่านสหภาพพม่า ส่งผลให้ชาวพม่าเสียชีวิต 22,000 คน และสูญหายอีก 41,000 คน
พายุไซโคลนเอลลี เกิดขึ้นวันที่30 มกราคม พ.ศ. 2552 เป็นพายุที่ก่อให้เกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมรุนแรงที่สุดในรอบ 30 ปี บริเวณรัฐควีนแลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ส่งผลให้บริเวณน้ำฝนสูงกว่า 1 ฟุต น้ำท่วมบ้านเรือนกว่า 3,000 หลังเสียหายกว่า 100ล้านเหรียญออสเตรเลีย
พายุไต้ฝุ่นกีสนา เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26-30 กันยายน พ.ศ. 2552 ได้พัดถล่มกรุงมะนิลา ประเทศ ฟิลิปินส์ แล้วพัดผ่านเวียดนาม กัมพูชา ลาว และไทย ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย ประมาณ 700 คน ส่วนวาตภัยครั้งร้ายแรงที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เช่น
พายุโซนร้อน “แฮร์เรียต” ที่แหลมตะลุมพุก อำเภอปากหนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ.2505
พายุไต้ฝุ่น “เกย์” ที่พัดเข้าสู่จังหวัดชุมพร เมื่อ พ.ศ. 2532
พายุไต้ฝุ่น “ลินดา” ที่พัดเข้าสู่ทางใต้ของประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2540
พายุโซนร้อน “หมุ่ยฟ้า” ที่พัดเข้าสู่ชายฝั่งภาคใต้ของไทย เมื่อ พ.ศ. 2547
3)ผลกระทบที่เกิดจากวาตภัย ทำให้เกิดอันตราย และความเสียหาย ดังนี้
บนบก ต้นไม้ถอนรากถอนโคนต้นไม้ทับบ้านเรือนพัง ผู้คนได้รับบาดเจ็บจนอาจถึงเสียชีวิต เรือกสวนไร่นาเสียหายหนักมาก บ้านเรียนที่ไม่แข็งแรงไม่สามารถต้านทานความรุนแรงของลมได้พังระเนระนาดหลังคาที่ทำด้วยสังกะสีจะถูกพัดเปิดกระเบื้องหลังคาปลิวว่อน เป็นอันตรายต่อผู้คนที่อยู่ในที่โล่งแจ้ง เสาไฟฟ้า เสาไฟล่มสายไฟขาด ไฟฟ้าลัดวงจร เกิดไฟไหม้ผู้คนสูญเสียจากไฟฟ้าดูดได้ ผู้คนที่พักอยู่ริมทะเลจะถูกคลื่นซัดท่วมบ้านเรือนและกวาดลงทะเล ผู้คนอาจจมน้ำทะเลตายได้ ฝนตกหนักมากทั้งวันทั้งคืน เกิดอุทกภัยตามมา น้ำป่าจากภูเขาไหลหลากลงมาอย่างรุนแรง ท่วมบ้านเรือน ถนน และไร่สวนนา เส้นทางคมนาคม ทางรถไฟ สะพาน และถูกตัดขาด
ในทะเล มีลมพัดแรง คลื่นใหญ่ เรือขนาดใหญ่อาจพัดพาไปเกยฝั่งหรือชน หินโสโครกทำให้จมได้ เรือทุกชนิดควรงดออกจากฝั่ง หลีกเลี่ยงการเดินเรือเข้าใกล้ศูนย์กลางพายุมีคลื่นใหญ่ซัดฝั่งทำให้ระดับน้ำสูงท่วมอาคารบ้านเรือนบริเวณทะเล พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง และอาจกวาดสิ่งก่อสร้างที่ไม่แข็งแรงลงทะเลได้ เรือประมงบริเวณชายฝั่งจะถูกทำลาย
4)การระวังภัยจากวาตภัย สามารถทำได้ ดังนี้
4.1)ขณะเกิดวาตภัย ควรปฏิบัติ ดังนี้
1.ติดตามข่าวและคำเตือนลักษณะอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา
2.เตรียมวิทยุและอุปกรณ์สื่อสาร ชนิดใช้ถ่านแบตเตอรี่ เพื่อติดตามข่าวในกรณีที่ไฟฟ้าขัดข้อง
3. ตัดหรือรึกิ่งไม้ที่อาจหักได้จากลมพายุ โดยเฉพาะกิ่งที่หักมาทับบ้าน สายไฟฟ้า ต้นไม้ที่ยืนต้นตายควรจัดการโค่นลงเสีย
4. ตรวจเสาและสายไฟฟ้าทั้งในและนอกบริเวณนอกบ้านให้เรียบร้อย ถ้าไม่แข็งแรงให้ยึดเหนี่ยวเสาไฟให้มันคง
5.พักในอาคารที่มั่นคงตลอดเวลาขณะเกิดวาตภัย อย่าออกมาในที่โล่งแจ้งเพราะกิ่งไม้อาจหักโค่นลงมาทับได้รวมทั้งหลังคาสังกะสีและกระเบื้องจะปลิวตามลมมาทำอันตรายได้
6. ปิดประตู หน้าต่างทุกบาน รวมทั้งยึดประตูและหน้าต่างให้มั่นคงแข็งแรง ถ้าประตูหน้าต่างไม่แข็งแรง ให้ใช้ไม้ทาบตีตะปูตรึงปิดประตู หน้าต่างไว้จะปลอดภัยยิ่งขึ้น
7. ปิดกั้นช่องทางลมและช่องทางต่าง ๆ ที่ลมจะเข้าไปทำให้เกิดความเสียหาย
8. เตรียมตะเกียง ไฟฉาย และไม้ขีดไฟไว้ให้พร้อม ให้อยู่ใกล้มือ เมื่อเกิดไฟฟ้าดับจะได้หยิบใช้ได้อย่างทันท่วงที และน้ำสะอาด พร้อมทั้งอุปกรณ์เครื่องหุ้มตุ้ม
9. เตรียมอาหารสำรอง อาหารกระป๋องไว้บ้างสำหรับการยังชีพในระยะเวลา 2-3 วัน
10. ดับเตาไฟให้เรียบร้อยและควรจะมีอุปกรณ์สำหรับดับเพลิงไว้
11. เตรียมเครื่องเวชภัณฑ์
12. สิ่งของควรไว้ในที่ต่ำ เพราะอาจจะตกหล่น แตกหักเสียหายได้
13. บรรดาเรือ แพ ให้ลงสมอยึดตรึงให้มั่นคงแข็งแรง
14. ถ้ามีรถยนต์ หรือพาหนะ ควรเตรียมไว้ให้พร้อมภายหลังพายุสงบอาจต้องนำผู้ป่วยไปส่ง โรงพยาบาล น้ำมันควรจะเติมให้เต็มถังอยู่ตลอดเวลา
15. เมื่อลมสงบแล้วต้องรออย่างน้อย 3 ชั่วโมง ถ้าพ้นระยะนี้แล้วไม่มีลมแรงเกิดขึ้นอีก จึงจะวางใจว่าพายุได้ผ่านพ้นไปแล้ว ทั้งนี้เพราะ เมื่อศูนย์กลางพายุผ่านไปแล้วจะต้องมีลมแรงและฝนตกหนักผ่านมาอีก ประมาณ 2 ชั่วโมง
4.2เมื่อพายุสงบแล้ว
1. เมื่อมีผู้บาดเจ็บให้รีบช่วยเหลือและนำส่งโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่ใกล้เคียงให้เร็ว ที่สุด
2. ต้นไม้ใกล้จะล้มให้รีบจัดการโค่นล้มลงเสีย มิฉะนั้นจะหักโค่นล้มภายหลัง
3. ถ้ามีเสาไฟฟ้าล้ม สายไฟขาดอย่าเข้าใกล้หรือแตะต้องเป็นอันขาด ทำเครื่องหมายแสดงอันตราย
4. แจ้งให้เจ้าหน้าที่หรือช่างไฟฟ้าจัดการด่วน อย่าแตะโลหะที่เป็นสื่อไฟฟ้า
4. เมื่อปรากฎว่าท่อประปาแตกที่ใด ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่มาแก้ไขโดยด่วน
5. อย่าเพิ่งใช้น้ำประปา เพราะน้ำอาจไม่บริสุทธิ์ เนื่องจากท่อแตกหรือน้ำท่วม ถ้าใช้น้ำประปาขณะนั้นดื่มอาจจะเกิดโรคได้ ให้ใช้น้ำที่กักตุนก่อนเกิดเหตุดื่มแทน
6. ปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่อาจจะเกิดขึ้นได้
การเตรียมยารักษาโรคต่างๆที่มักเกิดหลังวาตภัย เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ โรคติดเชื้อ ปรสิต โรคผิวหนัง โรคระบบทางเดินอาหาร โรคภาวะทางจิต เป็นต้น
1.7 ไฟป่า
ไฟป่า(Wild Fire) คือ ไฟที่เกิดขึ้นแล้วลุกลามไปได้โดยปราศจากการควบคุมไฟป่าอาจเกิดขึ้นจากสาเหตุธรรมชาติหรือเกิดจากการกระทำของมนุษย์แล้วส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการดำรงชีวิตของมนุษย์ ไฟป่าที่เกิดขึ้นบริเวณภูขาจะมีความรุนแรงและขยายพื้นที่ได้เร็วกว่าพื้นราบ
1) ปัจจัยที่ทำให้เกิดไฟป่า เกิดจาก 2 สาเหตุ ดังนี้
1.1 เกิดจากธรรมชาติไฟป่าที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่นฟ้าผ่า กิ่งไม้เสียดสีกัน ภูเขาไฟระเบิด ก้อนหินกระทบกัน แสงแดดตกกระทบผลึกหิน แสงแดดส่องผ่านหยดน้ำ ปฏิกิริยาเคมีในดินป่าพรุ การลุกไหม้ในตัวเองของสิ่งมีชีวิต (Spontaneous Combustion) แต่สาเหตุที่สำคัญ คือ
1.1.1 ฟ้าผ่า เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดไฟป่าในเขตอบอุ่น ในประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศแคนาดา (ภาพที่ 1.7) พบว่ากว่าครึ่งหนึ่งของไฟป่าที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากฟ้าผ่า|
1.1.2 กิ่งไม้เสียดสีกัน อาจเกิดขึ้นได้ในพื้นที่ป่าที่มีไม้ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นและมีสภาพอากาศแห้งจัด เช่น ในป่าไผ่หรือป่าสน เป็นต้น
2. สาเหตุจากมนุษย์ไฟป่าที่เกิดในประเทศกำลังพัฒนาในเขตร้อนส่วนใหญ่จะมีสาเหตุมาจากกิจกรรมของมนุษย์ ดังนี้
2.1 เก็บหาของป่า เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดไฟป่ามากที่สุด การเก็บหาของป่าส่วนใหญ่ได้แก่ ไข่มดแดง เห็ด ใบตองตึง ไม้ไผ่ น้ำผึ้ง ผักหวาน และไม้ฟืน การจุดไฟส่วนใหญ่เพื่อให้พื้นป่าโล่ง เดินสะดวก หรือให้แสงสว่างในระหว่างการเดินทางผ่านป่าในเวลากลางคืน หรือจุดเพื่อกระตุ้นการงอกของเห็ด หรือกระตุ้นการแตกใบใหม่ของผักหวานและใบตองตึง หรือจุดเพื่อไล่ตัวมดแดงออกจากรัง รมควันไล่ผึ้ง หรือไล่แมลงต่างๆ ในขณะที่อยู่ในป่า
2.2 เผาไร่ เป็นสาเหตุที่สำคัญรองลงมา การเผาไร่ก็เพื่อกำจัดวัชพืชหรือเศษซากพืชที่เหลืออยู่ภายหลังการเก็บเกี่ยว ทั้งนี้เพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูกในรอบต่อไป ทั้งนี้โดยปราศจากการทำแนวกันไฟและปราศจากการควบคุม ไฟจึงลามเข้าป่าที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง
2.3 แกล้งจุด ในกรณีที่ประชาชนในพื้นที่มีปัญหาความขัดแย้งกับหน่วยงานของรัฐในพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเรื่องที่ทำกินหรือถูกจับกุมจากการกระทำผิดในเรื่องป่าไม้ ก็มักจะหาทางแก้แค้นเจ้าหน้าที่ด้วยการเผาป่า
2.4 ความประมาท เกิดจากการเข้าไปพักแรมในป่า ก่อกองไฟแล้วลืมดับ หรือทิ้งก้นบุหรี่ลงบนพื้นป่า เป็นต้น
2.5 ล่าสัตว์ โดยใช้วิธีไล่เหล่า คือจุดไฟไล่ให้สัตว์หนีออกจากที่ซ่อน หรือจุดไฟเพื่อให้แมลงบินหนีไฟ นกชนิดต่างๆ จะบินมากินแมลง แล้วดักยิงนกอีกทอดหนึ่ง หรือจุดไฟเผาทุ่งหญ้า เพื่อให้หญ้าใหม่แตกระบัด ล่อให้สัตว์ชนิดต่างๆ เช่น กระทิง กวาง กระต่าย มากินหญ้า แล้วดักรอยิงสัตว์นั้นๆ
2)สถานการณ์การเกิดไฟป่า ในปี พ.ศ.2543 ถือว่าเป็นปีแรกที่มีการสำรวจสถิติไฟป่าในภาพรวมของทั้งโลกโดยใช้การแปลภาพถ่ายดาวเทียม จากรายงานชื่อ Global Burned Area Product 2000 พบว่าจากการวิเคราะห์เบื้องต้นมีพื้นที่ไฟไหม้ทั่วโลกใน พ.ศ. 2543 สูงถึงประมาณ 2,193.75 ล้านไร่ และนับวันสถานการณ์ไฟป่าก็ยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นตัวอย่างเช่น เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ได้เกิดไฟป่าครั้งใหญ่ในประเทศออสเตรเลีย ทำให้มีผู้เสียชีวิต 173 คนบาดเจ็บมากกว่า 500 คน และมีผู้ไร้ที่อยู่อาศัยกว่า 7500 คน เป็นต้น
สถานการณ์ที่เกิดขึ้นมนประเทศไทย และบริเวณใกล้เคียง ตั้งแต่วันที่ 1ตุลาคม 2549 ถึงวันที่ 17 มีนาคม 2550 ปฏิบัติงานดับไฟป่า จำนวน 5609 ครั้ง พื้นที่ถูกไฟไหม้ 87,290.3 ไร่ โดยท้องที่ภาคเหนือมีสถืติไฟไหม้มากที่สุด จำนวน 3,273 ครั้ง พื้นที่ถูกไฟไหม้ 36,626.8 ไร่
การตรวจติดตาม Hotspot (จุดที่คาดว่าจะเกิดไฟ) จากดาวเทียม Terra และ Aqua ด้วยระบบ MODIS พบว่า ตั้งแต่วันที่ 4-9 มีนาคม 2550 เกิด Hotspot ในภูมิภาคอินโดจีนและประเทศพม่า โดยมีแนวโน้มการเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2550 จนถึงปัจจุบัน โดยพบค่าสูงสุดในวันที่ 6มีนาคม 2550รวม 1,668 จุด วันที่ 4 และ 8 มีนาคม 2550 รวม 1,477 จุด และ 1,112 จุดตามลำดับ และจากการตรวจติดตาม Hotspot อย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ 17 มีนาคม 2550 พบว่า Hotspot มีจำนวนเหลือเพียง217 จุด สำหรับพื้นที่ภาคเหนือ จำนวน Hotspot มากที่สุดในวันที่ 6 มีนาคม 2550 จำนวน 944 จุด และในวันที่ 17 มีนาคม 2550 เหลือเพียง 59 จุด
3 ผลกระทบที่เกิดจากไฟป่า มีดังนี้
- ลูกไม้ กล้าไม้เล็กๆ ในป่า ถูกเผาทำลาย หมดโอกาสเติบโตเป็นไม้ใหญ่ส่วนต้นไม้ใหญ่หยุดการเจริญเติบโต เนื้อไม้เสื่อมคุณภาพลง เป็นแผล เกิดเชื้อโรค และ แมลงเข้ากัดทำลายเนื้อไม้ สภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์เปลี่ยนสภาพเป็นทุ่งหญ้าไปในที่สุด
- หมอกควันที่เกิดจากไฟป่าก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านสภาวะอากาศเป็นพิษ ทำลายสุขภาพของคน เกิดทัศนวิสัยไม่ดีต่อการบิน บางครั้งเครื่องบินไม่สามารถบินขึ้นหรือลงจอดได้ ส่งผลให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ และสูญเสียสภาพความสวยงามตามธรรมชาติ ไม่เหมาะสำหรับท่องเที่ยวอีกต่อไป
- ไฟป่าทำลายสิ่งปกคลุมดิน หน้าดินจึงเปิดโล่ง เมื่อฝนตกลงมาเม็ดฝนจะตกกระแทกกับหน้าดินโดยตรง เกิดการชะล้างพังทลายของดินได้ง่าย ทำให้น้ำที่ไหลบ่าไปตามหน้าดิน พัดพาหน้าดินอันอุดมสมบูรณ์ไปด้วย และดินอัดตัวแน่นทึบขึ้น การซึมน้ำไม่ดี ทำให้การอุ้มน้ำหรือดูดซับความชื้นของดินลดลง ไม่สามารถเก็บกักน้ำและธาตุอาหารที่จำเป็นต่อพืชได้
- น้ำเต็มไปด้วยตะกอนและขี้เถ้าจากผลของไฟป่าจะไหลสู่ลำห้วยลำธาร ทำให้ลำห้วยขุ่นข้นมีสภาพไม่เหมาะต่อการนำมาใช้ เมื่อดินตะกอนไปทับถมในแม่น้ำมากขึ้น ลำน้ำก็จะตื้นเขิน จุนำได้น้อยลง เมื่อฝนตกลงมาน้ำจะเอ่อล้นท่วมสองฝั่งเกิดเป็นอุทกภัย สร้างความเสียหายในด้านเกษตร การเพราะปลูก การสัตว์เลี้ยง และสร้างความเสียหายเมื่อน้ำทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนทำให้ทรัพย์สินได้รับความเสียหาย หน้าแล้งพื้นดินที่มีแต่ตะกรวดทรายและชั้นดินแน่นทึบจากผลของไฟป่า ทำให้ดินไม่สามารถเก็บกักน้ำในช่วงฤดูฝนเอาไว้ได้ทำให้ลำน้ำแห้งขอดเกิดสภาวะแห้งแล้งขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และเพื่อการเกษตร

4) การระวังภัยจากไฟป่า การจัดการและการแก้ไขปัญหาไฟป่าอย่างครบวงจร เริ่มตั้งแต่การป้องกันไม่ให้เกิดไฟป่า โดยศึกษาหาสาเหตุของการเกิดไฟป่าแล้ววางแผนป้องกันหรือกำจัดต้นตอของสาเหตุนั้น แต่ไฟป่ายังมีโอกาสขึ้นได้เสมอ ดังนั้น จำเป็นต้องมีมาตรการอื่นๆ รองรับตามมา ได้แก่ การเตรียมการดับไฟป่า
การตรวจหาไฟ การดับไฟป่า และการประเมินผล การปฏิบัติงาน การปฏิบัติงานงานควบคุมไฟป่าแบ่งได้ 2 กิจกรรมหลักได้ ดังนี้
4.1 การป้องกันไฟป่า สามารถดำเนินการได้ดังนี้
1.การรณรงค์ป้องกันไฟป่า ไฟป่าที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการกระทำของมนุษย์ ดังนั้นแนวทางการแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพที่สุดคือ การป้องกันไม่ให้ประชาชนจดไฟเผาป่าทั้งนี้อาจทำได้โดยการประชาสัมพันธ์ชี้แนะให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรป่าไม้ ความจำเป็นที่จะต้องดูแลรักษา ตลอดจนผลเสียที่จะเกิดขึ้นหากมีการบุกรุกทำลายหรือเผาป่า เพื่อให้ประชาชนเกิดทัศนคติที่ถูกต้อง เลิกจุดไฟเผาป่า และหันมาให้ความร่วมมือป้องกันไฟป่า การรณรงค์ป้องกันไฟป่าสามารถดำเนินการได้ในรูปแบบต่างๆ เช่น การประชาสัมพันธ์ สื่อมวลชน การติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์ การแจกจ่ายสิ่งตีพิมพ์และเอกสารเผยแพร่การจัดนิทรรศการ การให้การศึกษา การจัดฝึกอบรม ตลอดจนการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านป่าไม้ เป็นต้น
2.การจัดการเชื้อเพลิง โดยการทำแนวกันไฟ และการกำจัดเชื้อเพลิงในพื้นที่ที่ล่อแหลมต่อการเกิดไฟป่า เช่น มีวัชพืชหนาแน่น พื้นที่ป่าสองข้างถนน ซึ่งมีโอกาสเกิดไฟป่าได้ง่าย เพื่อลดโอกาสการเกิดไฟป่าได้ง่าย เพื่อลดโอกาสการเกิดไฟป่า หรือหากเกิดไฟป่าขึ้นก็จะมีความรุนแรงน้อย สามารถควบคุมง่าย
4.2 การปฏิบัติงานดับไปไฟป่า เป็นการปฏิบัติงานเพื่อควบคุมดับไฟป่า มิให้ลุกลามเผาทำลายต้นไม้ในกรณีที่เกิดไฟป่าขึ้นแล้ว ในปัจจุบันมีหน่วยปฏิบัติงานภาคสนามของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธ์พืช ที่ทำหน้าที่ในการดับไฟป่า คือ สถานีควบคุมไฟป่าที่อยู่ในทุกจังหวัด
ในส่วนของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าอยู่ในป่า มีส่วนสำคัญที่ก่อให้เกิดไฟป่าและมีส่วนสำคัญในการให้ความร่วมมือในการป้องกันไฟป่า ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้
1.เมื่อทำการเผ่าไร่ในพื้นที่ควบคุมดูแลไฟไม่ให้ลุกลามเข้าไปในป่า และควรทำแนวป้องกันไฟป่าก่อนเผาทุกครั้ง
2. ไม่จุดไฟเผาป่าเพื่อล่าสัตว์ และไม่จุดไฟเล่นด้วยความสนุกหรือคึกคะนอง
3. ระมัดระวังการใช้ไฟ เมื่ออยู่ในป่าหรือพักแรมในป่า หากมีความจำเป็นต้องใช้ไฟ ควรดับไฟให้หมดก่อนออกจากป่า
4. เมื่อพบเห็นไฟไหม้ป่าหรือสวนป่า ให้ช่วยกันดับไฟป่าหรือแจ้งหน่วยราชการที่อยู่บริเวณใกล้เคียง
5. มีส่วนร่วมด้านการประชาสัมพันธ์ ชี้ให้เห็นความสำคัญของป่าไม้และความเสียหายที่เกิดจากไฟป่าและโทษที่จะได้รับ หรือเป็นอาสาสมัครป้องกันไฟป่า
6. ช่วยเป็นหูเป็นตาให้เจ้าหน้าที่ในการส่องดูแลไม่ให้เกิดไฟไหม้ป่ารวมทั้งช่วยจับกุมผู้ฝ่าฝืนมาลงโทษตามกฎหมาย เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่บุคคลอื่นต่อไป